คลังบทความของบล็อก

ทำไมต้องตั้งศาลพระภูมิ clip vidio



วันและเวลาอันเป็นมงคล

วันและฤกษ์ตั้งศาล
มีความสำคัญมาก ควรเลือกวันที่ดีและมีความเป็นสิริมงคลเพื่อให้ประสิทธิผลในทางมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนนั้นสืบต่อไป วันเวลาฤกษ์มงคลในการตั้งศาลพระภูมิต่อไปนี้
ฤกษ์เวลาอันเป็นมงคล
วันอาทิตย์ เวลา 6.09 น. - 8.19 น.
วันจันทร์ เวลา 8.29 น. - 10.39 น.
วันอังคาร เวลา 6.39 น. - 8.09 น.
วันพุธ เวลา 8.39 น. - 10.19 น.
วันพฤหัสบดี เวลา 10.49 น. - 11.39 น.
วันศุกร์ เวลา 6.19 น. - 8.09 น.
วันเสาร์ เวลา 8.49 น. - 10.49 น.

วันต้องห้าม
เดือนอ้าย (ธันวาคม) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือนยี่ (มกราคม) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 3 (กุมภาพันธ์) วันอังคาร
เดือน 4 (มีนาคม) วันจันทร์
เดือน 5 (เมษายน) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน 6 (พฤษภาคม) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 7 (มิถุนายน) วันอังคาร
เดือน 8 (กรกฎาคม) วันจันทร์
เดือน 9 (สิงหาคม) วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน 10 (กันยายน) วันพุธ และวันศุกร์
เดือน 11 (ตุลาคม) วันอังคาร
เดือน 12 (พฤศจิกายน) วันจันทร์

อย่างไรก็ขอทิ้งท้ายไว้สักนิดสำหรับใครที่คิดจะตั้งศาสพระภูมิไว้ในบ้าน หากตั้งศาลพระภูมิอย่างถูกหลักตามนี้แล้ว จะช่วยส่งผลให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในศาลพระภูมิปกป้องรักษาคุ้มภัยคนที่อยู่ในบ้านได้เป็นอย่างดีค่ะ

ตั้งศาลพระภูมิอย่างไรให้ถูกหลักและเป็นมงคล

ศาลพระภูมิ มีที่มาจากการผสมผสานกันระหว่างศาสต์ด้านศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งมุ่งเน้นไปทางด้านการนับถือเทพเจ้า แม้ประเทศไทยเราจะนับถือศาสนาพุทธ แต่อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ก็มีเข้ามาอย่างแพร่หลาย
ตั้งศาลพระภูมิไว้ในบ้านควรรู้ถึงขั้นตอนและวิธีการตั้งศาลให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อจะได้นำวิธีเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและส่งผลให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในศาลพระภูมิปกป้องรักษาคุ้มภัยคนที่อยู่ในบ้านได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการตั้งศาลพระภูมิ สิ่งที่ต้องคำนึงในการตั้งศาลพระภูมิ คือ สถานที่ตั้ง,ทิศทาง,วันและฤกษ์ตั้ง,ความสูงของศาลพระภูมิและผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ
สถานที่สำหรับตั้งศาล มีหลักการพิจารณาดังนี้
1.ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน ไม่ใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน
2.หากไม่มีพื้นที่เป็นพื้นดิน สามารถทำการตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ส่วนใหญ่ศาลที่ตั้งบนดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพต่างๆ เช่นพระพรหม หรือ พระนารายณ์ ไม่ใช่พระภูมิเจ้าที่
3.จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านสะท้อนลงมาบังหรือทับ
4.ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
5.อย่าตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวบ้านมากจนเกินไป
6.อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
7.ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน
8.ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร
9.ถ้าสามารถยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นสัก 1 คืบ จากพื้นดินได้จะเหมาะสมอย่างยิ่ง
10.ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อย
ทิศทาง การหันหน้าศาลพระภูมิสู่ทิศมงคล
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ทิศอีสาน เป็นทิศที่ดีที่สุด
ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นทิศที่ดีอันดับ 2
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเณย์ เป็นทิศที่ดีอันดับ 3 
ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิ คือ ทิศตะวันตกและทิศใต้
เมื่อหาทิศทางตั้งศาลได้แล้วจะต้องพูนดินให้สูง 1 คืบ เกลี่ยดินด้วยมือและทุบให้แน่น ห้ามใช้เท้าเด็ดขาด และเตรียมน้ำมนต์ไว้พรมบริเวณพื้นดินเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ น้ำมนต์ที่ว่านี้เรียกว่า "น้ำมนต์ธรณีสาร" น้ำมนต์ธรณีสารนี้ ทำได้โดยนำน้ำธรรมดาไปให้พระท่านสวดพระพุทธมนต์ทำเหมือนน้ำมนต์ทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ให้ท่านนำใบต้นธรณีสารมาใส่ลงในน้ำที่จะทำน้ำมนต์ในพิธีตั้งศาล
ความสูงของศาล
ขึ้นอยู่กับ ตัวเจ้าของบ้าน โดยให้ระดับฐานหรือชานชาลาพระภูมิอยู่เหนือระดับปาก (บางตำราว่าอยู่เหนือคิ้วพอดี) ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าบ้าน ก็ควรจะตั้งศาลพระภูมิขึ้นใหม่
การใช้ศาลพระภูมิร่วมกัน กรณีที่เป็นหมู่บ้าน,ชุมชนหรือตึกแถว ให้ยึดเอาความสูงจากเจ้าของผู้สร้างเริ่มแรกหรือหัวหน้าชุมชนนั้นๆ โดยให้เป็นตัวแทนเพื่อมาทำการยกศาลพระภูมิขึ้น บอกกล่าวและสักการะ ขอให้ท่านดูแลปกป้องรักษา ให้โชคลาภ ความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้อยู่อาศัยทุกคน
การปักเสาตั้งศาล 
ต้องเตรียมหลุมให้เสร็จก่อนเริ่มพิธี (ค่อยมีพิธีในวันรุ่งขึ้น) โดยต้องเตรียมของดังนี้ พานครู 1 พาน ใช้สำหรับใส่ข้าว ธูป เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6 สลึงหรือ 99 บาท

ทำไมบ้านทุกหลังต้องมีศาลพระภูมิเจ้าที่


เนื่องจากความเชื่อที่สืบทอดกันมาแสนยาวนานกลายเป็นวัฒนธรรมที่คนไทยทุกคนเลื่อมใสดิฉันจึงมีความสนใจและอยากทราบถึงพิธีกรรมหนึ่งพิธีกรรมคือ การตั้งศาลพระภูมิว่าทำไมทุกบ้านต้องมีและตั้งกันอย่างไร ?ทั้งนี้ทั้งนั้นศาลพระภูมมิมีหลากหลายรูปแบบมากเพราะอะไร จึงถามกับร้านธรรมบุญซึ่งเข้าใจในการตั้งศาลพระภูมิว่าขั้นตอนหรือรูปแบบที่แตกต่างกันเพราะอะไร ทำไมต้องตั้ง"


สังเกตุได้ว่า ศาลพระภูมิมีหนึ่งเสาทรงสูง ส่วน ศาลเจ้าที่มีสี่เสาทรงเตี้ย

ทำไม ?? ต้องตั้งศาลพระภูมิ และ มีความจำเป็นหรือไม่ตามคติไทยมีความเชื่อดั้งเดิม "พระภูมิ" หรือ "ภูมิเทวดา" 

ผู้มีหน้าที่รักษาอาณาเขตที่ดิน ซึ่งเจ้าของที่ได้อัญเชิญมาสิงสถิต ณ ศาลซึ่งได้จัดสร้างไว้ ตำนานเล่าว่า ท้าวทศราชผู้ครองกรุงพลี มีโอรส 9 พระองค์ ล้วนปรีชาสามารถ จึงถูกส่งไปรักษาถิ่นต่างๆ เป็นต้นว่าเคหสถาน ทวารเมือง ป้อมค่าย บันได คอกสัตว์ ยุ้งฉางข้าว เรือนหอ ไร่นา ป่าเขา ห้วยหนอง คลอง บึง แม่น้ำ โอรสที่อยู่ประจำเคหสถานคือพระภูมิเจ้าที่มีนามว่า "พระชัยมงคล" มือซ้ายถือพระขรรค์ มือขวาถือสมุด มีคนรับใช้ 3 คน คือนายจันทิศ นายจันถี และจ่าสพพระเชิงเรือน คอยรับใช้อยู่หน้าศาลการตั้งศาลพระภูมิหรือศาลพระพรหม จะกระทำเมื่อมีการปลูกบ้านใหม่ สร้างโรงงานใหม่ หรือย้ายที่อยู่ เชื่อว่าการตั้งศาลเป็นการกระทำที่เป็นสิริมงคลแก่เจ้าของที่ดินและครอบครัว ตลอดจนผู้อาศัย เป็นการอัญเชิญพระภูมิมาสิงสถิตเพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าของบ้านและบริวารให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง มีโชคลาภ และถือว่าพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบ้านสำหรับศาลวิญญาณหรือศาลเจ้าที่ เป็นความเชื่อที่ว่า ที่ดินทุกแห่งจะมีดวงวิญญาณเจ้าของที่ ประจำอยู่ ดังนั้นการตั้งศาลเจ้าที่ก็เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อวิญญาณเจ้าของที่ดินเดิมและมีการอัญเชิญมาสิงสถิตเพื่อปกปักษ์รักษา คุ้มครองผู้อยู่อาศัยให้ร่มเย็น แคล้วคลาดจากภัยทั้งปวง สถานที่ในการตั้งศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่ จะต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นดิน เนื่องจากเป็นชั้นเทพ  จึงมีการเทปูน ยกระดับ เพื่อตั้งวางโดยเฉพาะ  และจะต้องมีการดูลักษณะพื้นที่ในการจัดวางให้เหมาะสม รวมถึงทิศทางที่จะให้ตัวศาลหันหน้า และ ทิศทางต้องห้าม ด้วย การตั้งศาลในปัจจุบัน จะเป็นการตั้งศาลเทพ (พระพรหม หรือ พระภูมิ บางแห่งก็พระนารายณ์ หรือพระพิฆเณศวร) อย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมกับศาลวิญญาณหรือศาลเจ้าที่  โดยการตั้งศาลที่ถูกต้องนั้น จะต้องเป็นพิธีทางพราหมณ์ โดย พราหมณ์จะเป็นผู้อัญเชิญเทพมาสถิต เพื่อปกปักษ์ รักษา คุ้มครอง ผู้อาศัย ให้มีความเจริญรุ่งเรือง ร่มเย็น รวมถึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ


เครื่องตั้งศาล 

เครื่องตั้งศาลคืออะไร ?
เครื่องตั้งศาลคือองค์ประกอบภายในศาลและนอกศาลจำเป็นต้องมีเพราะเป็นความเชื่อในการบูชา

ศาลที่นิยมตั้งกันในบ้านมี 2 ประเภท 

ศาลตายาย และ ศาลพระภูมิ (ศาลที่เราเห็นหน้าห้างสรรพสินค้าหรือที่อื่นๆนั้นส่วนใหญ่ล้วนแล้วเป็นศาลพระพรมจะมีลักษณะที่ใหญ่กว่าและมีช่องเปิดกว้างสี่ทิศเพราะตัวองค์พระพรมจะมีหน้าสี่ด้าน)เครื่องตั้งศาลประกอบไปด้วย
1.ตายาย/พระภูมิเจ้าที่
2.แจกันกระถางธูป
3.พวงมาลัยดาวเรือง
4.ผ้าสามสี
5.ไม้มงคล9ชนิด
6.ช้างม้าวัวควาย (บริวาร)
7.ตุ๊กตาบ่าวสาวรับใช้
8.ธูปเทียน
9.บายศรี
10.โอ่งใส่น้ำเงิน-ทอง
11.โพธิเงิน-ทอง
12.ขนมทองหยิบทองหยอด
13.พลอย 7 สี
14.อื่นๆที่เป็นมงคลแล้วแต่เคล็ดของเจ้าบ้าน
จากนั้นก็เป็นหน้าที่พรามห์ในการทำพิธีกรรมต่อไป..
จัดตั้งศาลพระภูมิ